ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หลาย ๆ คนอาจจะเข้าใจในเรื่องของภาษีเหล่านี้อยู่แล้วบ้าง แต่เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังไม่เข้าใจและไม่รู้วิธีการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ครั้งนี้ The Wisdom Property จะพาคุณไปอัปเดตเรื่องราวของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อเป็นประโยชน์ในการ ลงทุนที่ดิน พร้อมวิธีการคำนวณภาษีที่ถูกต้อง ก่อนหน้านี้ ครม.มีมติลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี พ.ศ. 2564 ลง 90% ของภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา 42 หรือมาตรา 95 หมายความว่าปีนี้ผู้ที่ถือครองสินทรัพย์ประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะจ่ายภาษีเพียง 10% เท่านั้น โดยครอบคลุมที่ดินทุกประเภท หากย้อนกลับไปดู พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 มาตรา 37 และมาตรา 94 มีการกำหนดอัตราภาษีที่ใช้เก็บปี พ.ศ. 2563-2564 ดังนี้
อัปเดต “ภาษีที่ดิน” ปี 64 และวิธีคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
1.พื้นที่เกษตรกรรม
พื้นที่เกษตรกรรม อัตราเพดานภาษีอยู่ที่ร้อยละ 0.15% ทั้งนี้ขั้นของภาษีที่ดินประเภทเกษตรกรรมขึ้นอยู่กับประเภทของเจ้าของที่ดินถือครองที่ดินเกษตรกรรมในฐานะบุคคลธรรมดา และมูลค่าที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับยกเว้นภาษี หากเป็นในนามนิติบุคคล ที่ดินราคาไม่เกิน 75 ล้านบาท จะคิดในอัตราร้อยละ 0.01% ไล่เรียงไปตามมูลค่าราคาที่ดิน
สูตรในการคำนวณภาษีที่ดิน
- ภาษีที่ดินที่ต้องจ่าย (บุคคลธรรมดา) = (มูลค่าที่ดิน – มูลค่าที่กฎหมายยกเว้น 50 ล้าน) x อัตราภาษีที่ดิน
- ภาษีที่ดินที่ต้องจ่าย (นิติบุคคล) = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษีที่ดิน
2.ที่ดินรกร้างว่างเปล่า บ้านไม่ใช้ประโยชน์และอื่น ๆ
ที่ดินประเภทนี้มีการกำหนดอัตราเพดานภาษีไว้ที่ 1.2%
ที่ดินมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.3%
ที่ดินมูลค่า 50-200 ล้านบาท อัตราภาษีจะเพิ่มขึ้นเป็น 0.4%
มูลค่าที่ดินมากกว่า 5,000 ล้านบาท อัตราภาษีจะอยู่ที่ 0.7%
หากที่ดินรกร้างว่างเปล่า ถูกปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์ ทุกๆ 3 ปี อัตราภาษีจะเพิ่มขึ้น 0.3%
แต่อัตราภาษีรวมทั้งหมดไม่เกิน 3%
สูตรในการคำนวณภาษีที่ดินรกร้าง
- ภาษีที่ดินที่ต้องจ่าย = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษีที่ดิน
3.ที่อยู่อาศัย
3.1.ที่อยู่อาศัย บ้านหลังหลัก (กรณีที่ดินและบ้านที่เจ้าของมีชื่อในทะเบียนบ้าน)
สำหรับประเภทที่อยู่อาศัย ที่เป็นบ้านหลังแรก เป็นที่ดินและบ้านที่เจ้าของมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน กำหนดให้ยกเว้นภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่หากมูลค่ารวมอยู่ที่ 50-75 ล้านบาท กำหนดอัตราภาษีไว้ที่ 0.03% และหากมีมูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.05% และหากมีมูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท จะคิดอัตราภาษี 0.1% ทั้งนี้อัตราภาษีนี้จะเป็นการคิดในปี พ.ศ. 2563-2564 เท่านั้น
สูตรในการคำนวณภาษีที่ดิน
- ภาษีที่ดินที่ต้องจ่าย = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษีที่ดิน
3.2.ที่อยู่อาศัย บ้านหลังหลัก (กรณีบ้านที่เจ้าของมีชื่อในทะเบียนบ้าน)
สำหรับที่อยู่อาศัย บ้านหลังหลัก ที่อยู่ในกรณีบ้านที่เจ้าของมีชื่อในทะเบียนบ้าน หากราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนบ้านที่มีมูลค่าตั้งแต่ 10-50 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.03% และหากมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษีอยู่ที่ 0.1%
สูตรในการคำนวณภาษีที่ดิน
- ภาษีที่ดินที่ต้องจ่าย = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษีที่ดิน
3.3.ที่อยู่อาศัย บ้านหลังอื่น
สำหรับบ้านหลังอื่น อัตราภาษีเริ่มต้น 0.02% สำหรับบ้านที่ราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษีไล่เรียงขึ้นจนถึงอัตราภาษี 0.1% เมื่อบ้านมีราคาเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป
สูตรในการคำนวณภาษีที่ดิน
- ภาษีที่ดินที่ต้องจ่าย = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษีที่ดิน
และอีกมาตรการช่วยเหลือที่ออกมาคือ การลดค่าธรรมการโอนอสังหาริมทรัพย์ จากเดิม 2% เหลือ 0.01% และลดค่าธรรมการจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ จากเดิม 1% เหลือ 0.01% เฉพาะการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังนี้
– ที่ดินพร้อมอาคารประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด หรืออาคารพาณิชย์ จากผู้จัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน
– ห้องชุดจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนอาคารชุดในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหน่วย โดยการจดทะเบียนการโอน การจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยต้องดำเนินในคราวเดียวกัน
สำหรับเรื่องภาษีอาจจะเป็นเรื่องที่ซับซ้อนของใครหลายๆ คน แต่ก็ไม่ยากเกินจะเรียนรู้ จากเนื้อหาข้อมูลข้างต้น หวังว่าจะเป็นประโยชน์และสร้างความเข้าใจที่ดีกับหลายๆ คน ติดตามบทความดีๆ เกี่ยวกับอสังหาฯ ได้ที่ the wisdom property เรายังมีบทความดีๆ ในเรื่องอสังหาฯ อีกมากมายที่รอให้คุณได้อ่าน
ที่มา : กระทรวงการคลัง, สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง